1. ชื่อโครงการ สวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
2. ชื่อแผนงาน บริหารวิชาการแก่สังคม
3. ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | |
4. ชื่อหน่วยงานและสังกัด | มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี | |
5. พื้นที่ดำเนินการ | ป่าในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี | |
6. ลักษณะของโครงการ | โครงการต่อเนื่อง | |
7. ลักษณะการดำเนินการ | ประสานงานกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) |
8. หลักการและเหตุผล
เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มีเนื้อที่หลายแห่งยังเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์และเขียวชอุ่มตลอดปี ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงเห็นควรทำโครงการที่จะอนุรักษ์พันธุ์พืช เหล่านี้ไว้ รวมทั้งทำการศึกษาด้านอนุกรมวิธาน คุณประโยชน์ทางสมุนไพรและอื่นๆ รวมทั้งมีโครงการที่จะให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสศึกษาและใช้ประโยชน์จากป่าอนุรักษ์จากป่าอย่างคุ้มค่า และกว้างขวาง ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้ติดต่อขอความร่วมมือในการอนุรักษ์พันธุ์พืช เหล่านี้ไปยังโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
9. วัตถุประสงค์ของโครงการ
- 9.1 เพื่ออนุรักษ์ไม้พื้นเมืองของจันทบุรี ภาคตะวันออกและของไทย รวมทั้งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
9.2 เพื่อให้เยาวชนของชาติและประชาชนทั่วไปได้ใช้ป่าของสถาบันเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ และปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุ์พืชและสิ่งแวดล้อม
10. เป้าหมายของโครงการ
ป่าอนุรักษ์บริเวณอาคารวิทยาศาสตร์หลังใหม่ และ/หรือป่าหลังอาคารสาม รวมทั้งป่าหลังอาคารคณะเกษตรฯ และ/หรือที่อื่นๆ ที่สถาบันเห็นสมควรจะอนุรักษ์ไว้
11. ขั้นตอนและรายละเอียดของกิจกรรมที่จะดำเนินการ
- 11.1 สำรวจพื้นที่ป่าที่จะเข้าโครงการ แล้วกำหนดขอบเขตให้แน่นนอน
11.2 ทำเรื่องทูลเกล้าถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ผ่านทางคุณพรชัย จุฑามาศ เพื่อทำแผนแม่บทที่ชัดเจน และตามมาด้วยการทำแผนปฏิบัติการ (ระยะ 5 ปี เข้าแผน 8) ทาง โครงการ อพ.สธ. จะประสานงานการทำงานอย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งด้านงบประมาณต่างๆ ด้วย
11.3 พิจารณากิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์กับโครงการร่วมกับ อพ.สธ.
12. หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนโครงการ
- 1. โครงการ อพ.สธ.
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
3. หน่วยงานอื่นๆ ทั้งของรัฐและเอกชน
13. ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
- 13.1 พันธุ์พืชของป่าอนุรักษ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีได้รับการปกปักรักษาตลอดไป
13.2 ทราบชื่อชนิดของพืชในป่าอนุรักษ์นี้ ทั้งชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ และรายละเอียด อื่นๆ ของพืชเหล่านี้
13.3 เยาวชนและชุมชนได้รับประโยชน์จากป่าอนุรักษ์นี้
13.4 สามารถปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พันธุ์พืช สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้เยาวชนได้
13.5 มีแหล่งศึกษาพืชด้านอนุกรมวิธานและสิ่งแวดล้อม
14. งานที่ทำไปแล้วใน พ.ศ. 2537 – 2539
ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ทำโครงการสวนพฤกษศาสตร์ โดยขอความช่วยเหลือด้านงบประมาณจากโครงการมูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี เป็นเงิน 504,500 บาท เพื่อก่อสร้างเรือนเพาะชำ ต้นไม้ ซื้อครุภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ทำป้ายโลหะ ซื้อพันธุ์พืช และค่าใช้สอยในการไปติดต่องาน ทางคณะกรรมการมูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณีได้พิจารณาการจัดสรรงบประมาณช่วยเหลือโครงการของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเงิน 300,000 บาท
งานที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ทำไปแล้ว ได้แก่
- สร้างเรือนเพาะชำต้นไม้ ขนาด 16 x 8 เมตร ประกอบด้วยห้องทำงานและห้องเก็บของขนาด ห้องละ 4x4 เมตร ส่วนที่เหลือ หลังคาใช้ตาข่ายครอบและไม่มีฝาหรือรั้วกั้น
- จัดซื้อครุภัณฑ์บางชนิด ได้แก่ ตู้เย็น พัดลม โต๊ะทำงานพร้อมเก้าอี้ ตู้ใส่เอกสาร ชั้นวางของ
- ทำป้ายชื่อพืช พร้อมชื่อวิทยาศาสตร์และประโยชน์บางส่วน
- สำรวจพันธุ์พืชบริเวณป่าอนุรักษ์ด้านทิศตะวันออกของอาคารวิทยาศาสตร์หลังใหม่ พบความหลากหลายทางชีวภาพของพืชที่น่าสนใจ พื้นที่พบมีทั้งที่มีเฉพาะในจันทบุรี บางชนิดมีเฉพาะภาคตะวันออก และบางชนิดพบทั้งในจังหวัดจันบุรีและบางจังหวัดใน ภาคเหนือและภาคใต้ นอกจากนี้บางชนิดพบได้ทั่วไปในประเทศไทย พืชในป่านี้ส่วนมากมีคุณค่าทางสมุนไพร บางชนิดมีจำนวนน้อย ควรแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะพืชที่มีทางจันทบุรีเท่านั้นโอกาสที่จะสูญพันธุ์ไปจากโลกจึงมีมาก ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงเห็นความจำเป็นที่ จะต้องศึกษาและหาแนวทางเพื่ออนุรักษ์พืชเหล่านี้ไว้อย่างอย่างยิ่ง จึงได้ดำเนินโครงการนี้และได้ขอความช่วยเหลือทางงบประมาณจากโครงการมูลนิธิประชาธิปก - รำไพพรรณี ดังกล่าวแล้ว เพื่อให้การดำเนินงานของ โครงการบรรลุวัตถุประสงค์และบังเกิดผลดีมากที่สุด ทางคณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้มีหนังสือถึงประธานกรรมการ อพ.สธ. เพื่อเรียนถามแนวทางในการให้ความร่วมมือเพื่ออนุรักษ์พืชที่สำคัญ และอื่นๆ ในการนี้ ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร ประธานโครงการ อพ.สธ. และคณะ ได้กรุณามาเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีถึงสองครั้ง เพื่อชี้แนวทางการให้ความช่วยเหลือและการประสานงานระหว่าง อพ.สธ. และสถาบัน ดังกล่าวแล้วในข้อ 11.2 ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเห็นว่าโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสถาบัน ชุมชน และส่วนรวมเป็นเอนกประการ จึงได้จัดทำโครงการเสนอสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ รวมทั้งพิจารณาเป้าหมายของโครงการในข้อ 10 ด้วย